สัญลักษณ์ Flowchart
สัญลักษณ์ Flowchart
ความหมายของ Flowchart
Flowchart หรือ ผังงาน คือ รูปภาพ หรือ สัญลักษณ์ที่ใช้เขียนแทนขั้นตอน คำอธิบาย ข้อความ หรือ คำพูดที่ใช้ในอัลกอริทึม (Algorithm) เพราะการนำเสนอขั้นตอนของงานให้เข้าใจตรงกัน ระหว่างผู้เกี่ยวข้อง ด้วยคำพูด หรือ ข้อความทำได้ยากกว่า
ประเภทของ Flowchart
แบ่งได้ 2 ประเภท คือ
แบ่งได้ 2 ประเภท คือ
- ผังงานระบบ (System Flowchart) คือ ผังงานที่แสดงขั้นตอนการทำงานในระบบอย่างกว้างๆ แต่ไม่เจาะลงในระบบงานย่อย
- ผังงานโปรแกรม (Program Flowchart) คือ ผังงานที่แสดงถึงขั้นตอนในการทำงานของโปรแกรม ตั้งแต่รับข้อมูล คำนวณ จนถึงแสดงผลลัพธ์
ประโยชน์ของ Flowchart
- ทำให้เข้าใจ และแยกแยะปัญหาได้ง่าย (Problem Define)
- แสดงลำดับการทำงาน (Step Flowing)
- หาข้อผิดพลาดได้ง่าย (Easy to Debug)
- ทำความเข้าใจโปรแกรมได้ง่าย (Easy to Read)
- ไม่ขึ้นกับภาษาใดภาษาหนึ่ง (Flexible Language)
การโปรแกรมแบบมีโครงสร้าง
ประกอบด้วยหลักการ 3 อย่าง คือ
ประกอบด้วยหลักการ 3 อย่าง คือ
- การทำงานแบบตามลำดับ (Sequence) เป็นรูปแบบการเขียนโปรแกรมที่ง่ายที่สุดคือ เขียนให้ทำงานจากบนลงล่าง เขียนคำสั่งเป็นบรรทัด และทำทีละบรรทัดจากบรรทัดบนสุดลงไปจนถึงบรรทัดล่างสุด สมมติให้มีการทำงาน 3 กระบวนการคือ อ่านข้อมูล คำนวณ และพิมพ์
- การเลือกกระทำตามเงื่อนไข (Decision) เป็นการตัดสินใจ หรือเลือกเงื่อนไขคือ เขียนโปรแกรมเพื่อนำค่าไปเลือกกระทำ โดยปกติจะมีเหตุการณ์ให้ทำ 2 กระบวนการ คือเงื่อนไขเป็นจริงจะกระทำกระบวนการหนึ่ง และเป็นเท็จจะกระทำอีกกระบวนการหนึ่ง แต่ถ้าซับซ้อนมากขึ้น จะต้องใช้เงื่อนไขหลายชั้น เช่น การตัดเกรดนักศึกษา เป็นต้น ตัวอย่างผังงานนี้ จะแสดงผลการเลือกอย่างง่าย เพื่อกระทำกระบวนการเพียงกระบวนการเดียว
- การทำซ้ำ (Loop) เป็นการทำกระบวนการหนึ่งหลายครั้ง โดยมีเงื่อนไขในการควบคุม หมายถึงการทำซ้ำเป็นหลักการที่ทำความเข้าใจได้ยากกว่า 2 รูปแบบแรก เพราะการเขียนโปรแกรมแต่ละภาษา จะไม่แสดงภาพอย่างชัดเจนเหมือนการเขียนผังงาน ผู้เขียนโปรแกรมต้องจินตนาการด้วยตนเอง
สัญลักษณ์ | ความหมาย |
| การกำหนดค่า หรือ การประมวลผลทั่วไป |
การประมวลของโปรแกรมย่อย (Subroutine) | |
การตัดสินใจ การเปรียบเทียบ จะมีผลใน 2 ทิศทาง คือ กรณีผลตรวจสอบเงื่อนไขเป็นเท็จ และเป็นจริง | |
รับ หรือ แสดงข้อมูล โดยไม่ระบุชนิดอุปกรณ์ | |
โปรแกรมย่อย หรือ โมดูล เริ่มทำงานหลักจากจบคำสั่งในโปรแกรมย่อยแล้ว จะกลับมาทำคำสั่งต่อไป | |
การเก็บข้อมูลภายใน | |
การแสดงผลเอกสาร หรือ การแสดงผลออกทางเครื่องพิมพ์ | |
การแสดงผลหลายเอกสารพร้อมกัน | |
การเริ่มต้น หรือ การสิ้นสุด | |
การกำหนดค่าต่างๆ ล่วงหน้า ซึ่งเป็นการทำงานภายในช่วงหนึ่งที่ซ้ำๆ กัน | |
การรับข้อมูลเข้าทางแป้นพิมพ์ | |
การทำซ้ำจนกระทั้งสิ้นสุดตามจำนวนที่กำหนด | |
จุดเชื่อมต่อในหน้าเดียวกัน | |
จุดเชื่อมต่อคนละหน้า | |
การรับข้อมูลเข้า หรือ แสดงผลโดยใช้บัตรเจาะรู | |
การรับข้อมูลเข้า หรือ แสดงผลโดยใช้เทปกระดาษเจาะรู | |
จุดร่วมการเชื่อมต่อ | |
หรือ | |
การจัดลำดับรายการของข้อมูลในรูปแบบมาตรฐาน | |
การจัดลำดับรายการของข้อมูล | |
การแยกให้เป็นสองขั้นตอนย่อย | |
การรวมสองขั้นตอนย่อยให้เป็นขั้นตอนเดียว | |
แหล่งเก็บข้อมูล Online หน่วยความจำสำรอง | |
การหน่วงเวลา | |
การรับ หรือ แสดงผลข้อมูลทางเทปแม่เหล็ก | |
การรับข้อมูลเข้า หรือ แสดงผลโดยใช้จานแม่เหล็ก | |
การจัดเก็บข้อมูลแบบการเข้าถึงโดยตรง | |
จอภาพแสดงผล |
ตัวอย่าง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น